สำนักงานกฎหมาย ตถาตา

ขอลดหย่อนโทษคดียาเสพติดตามมาตรา 100/2- ให้ข้อมูลเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อพนักงานสอบสวน

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ...ที่จำเลยฎีกาข้อสุดท้ายขอให้ลงโทษสถานเบาตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 100/2 นั้น เห็นว่า แม้บทบัญญัติดังกล่าวจะให้ศาลมีอำนาจลงโทษผู้กระทำความผิดน้อยกว่าอัตราโทษขั้นต่ำที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นได้ก็ตาม แต่ก็เป็นดุลพินิจของศาลที่จะพิจารณาตามที่เห็นสมควรมิใช่บทบังคับ ซึ่งข้อเท็จจริงที่จำเลยแจ้งตำหนิรูปพรรณนางกิตติมาและนายประกาศให้พนักงานสอบสวนทราบ จนมีการออกหมายจับบุคคลทั้งสอง แต่ทางนำสืบของโจทก์และจำเลยไม่ปรากฏว่าพนักงานสอบสวนสามารถจับกุมนายกิตติมาและนายประกาศมาดำเนินคดีได้หรือไม่ อย่างไร คำให้การในชั้นสอบสวนของจำเลยจึงยังไม่มีเหตุผลเพียงพอที่จะฟังว่าจำเลยให้ข้อมูลที่สำคัญและเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษต่อพนักงานสอบสวน ทั้งศาลอุทธรณ์ภาค 5 ลดโทษให้จำเลยหนึ่งในสี่ นับว่าเป็นคุณแก่จำเลยมากแล้วจึงไม่มีเหตุสมควรที่ศาลฎีกาจะกำหนดโทษจำเลยให้น้อยกว่าอัตราโทษขั้นต่ำที่กฎหมายกำหนดไว้ ฎีกาข้อนี้ของจำเลยฟังไม่ขึ้นเช่นกัน
พิพากษายืน
( อัปษร หิรัญบูรณะ - ฐานันท์ วรรณโกวิท - ชัยยันต์ ศุขโชติ )
ศาลจังหวัดเชียงราย - นายชวลิต ศรีสง่า
ศาลอุทธรณ์ภาค 5 - นายกัมปนาท วงษ์นรา

ปรึกาากฎหมาย  ปรึกษาทนายความ ลีนนท์  พงษ์ศิริสุวรรณ  โทร. 085-9604258     สำนักงานกฎหมายพีศิริ ทนายความ

ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 15 วรรคสาม (3), 66 วรรคสาม, 102 ประกอบประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 คำให้การรับสารภาพชั้นจับกุม ชั้นสอบสวนและทางนำสืบของจำเลยเป็นประโยชน์แก่การพิจารณาอยู่บ้าง ลดโทษให้หนึ่งในสี่ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 ประกอบมาตรา 53 แล้ว คงจำคุก 37 ปี 6 เดือน และปรับ 3,750,000 บาท ไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29, 30 แต่ให้กักขังแทนค่าปรับได้ไม่เกิน 1 ปี นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
จำเลยฎีกา

ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 15 วรรคสาม (3), 66 วรรคสาม, 102 ให้ลงโทษจำคุกตลอดชีวิตและปรับ 5,000,000 บาท ริบของกลาง
จำเลยอุทธรณ์

โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 4, 7, 8, 15, 66, 67, 102 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 32 และริบของกลาง
จำเลยให้การปฏิเสธ

ข้อมูลเป็นประโยชน์ตามมาตรา 100/2 ต้องมีลักษณะอย่างไร?(คำพิพากษาศาลฎีกาที่  6287/2553)อ่านต่อคลิ๊กที่นี่ครับ

พนักงานอัยการจังหวัดเชียงราย       โจทก์

แม้ พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 100/2 จะให้ศาลมีอำนาจลงโทษผู้กระทำความผิดน้อยกว่าอัตราโทษขั้นต่ำที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นได้ก็ตาม แต่ก็เป็นดุลพินิจของศาลที่จะพิจารณาตามที่เห็นสมควร มิใช่บทบังคับ ซึ่งข้อเท็จจริงที่จำเลยแจ้งตำหนิรูปพรรณ ก. และ ป. ให้พนักงานสอบสวนทราบ จนมีการออกหมายจับบุคคลทั้งสอง แต่ทางนำสืบของโจทก์และจำเลยไม่ปรากฏว่าพนักงานสอบสวนสามารถจับกุม ก. และ ป. มาดำเนินคดีได้หรือไม่ อย่างไร คำให้การในชั้นสอบสวนของจำเลยจึงยังไม่มีเหตุผลเพียงพอที่จะฟังว่าจำเลยให้ข้อมูลที่สำคัญและเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษต่อพนักงานสอบสวน จึงไม่มีเหตุสมควรที่จะกำหนดโทษจำเลยให้น้อยกว่าอัตราโทษขั้นต่ำที่กฎหมายกำหนดไว้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  3072/2553

แม้ใน มาตรา 100/2 จะให้ศาลมีอำนาจลงโทษผู้กระทำความผิดน้อยกว่าอัตราโทษขั้นต่ำที่กำหนดไว้ก็ตาม แต่ไม่ใช่บทบังคับศาล ดังนั้นจึงเป็นดุลพินิจของศาลตามที่ศาลจะเห็นสมควร และในทางนำสืบก็ต้องปรากฏว่าให้ข้อมูลที่สำคัญและเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษต่อพนักงานสอบสวน  คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ลงโทษจำคุกตลอดชีวิตและปรับ 5,000,000 บาท ศาลอุทธรณ์ พิพากษาจำคุก 37 ปี 6 เดือน และปรับ 3,750,000 บาท  จำเลยฎีกาขอให้ลงโทษสถานเบาตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 100/2  ศาลฎีกาพิพากษายืนตามศาลอุทธรณ์

สำนักงานกฎหมาย ตถาตา
064-664-6789
02-148-5546
LAWYERNOOM@HOTMAIL.COM
เลขที่ 61/45-46 หมู่ที่ 6 ตำบลลาดสวาย อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี 12150
นโยบายความเป็นส่วนตัว

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า